4 กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวไทยปี 2023

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ทุกคน วันนี้มีสาระสำคัญดีดีมาแบ่งปันกับเพื่อนๆ อีกแล้วนะคะ รอบนี้ มาดูแนวโน้มการตลาดการท่องเที่ยวไทยปี 2023 กันค่ะ

จากรายงานการคาดการณ์ของโลกของ WTTC การตลาดการท่องเที่ยวโลกในปี 2023 พบว่า อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 5.8% ต่อปี จากปี 2022 ถึงปี 2032 เทียบกับการเพิ่มขึ้นของ GDP ทั่วโลก 2.7% และสร้างงานใหม่ถึง 126 ล้านตำแหน่ง ถือเป็นโอกาสอันดีของการท่องเที่ยวทุกประเทศทั่วโลกก็ว่าได้

เทรนด์การท่องเที่ยวไทย ปี 2566

เมื่อพิจารณาถึงการตลาดการท่องเที่ยวประเทศไทย พบว่า แผนการตลาดการท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้กำหนดแผนเพื่อสื่อสารทิศทางและแนวทางการส่งเสริมตลาดท่องเที่ยว ปี 2566 ตั้งเป้าพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยทั้งระบบ ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกมิติ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการตลาด ให้แหล่งท่องเที่ยวไทยสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี และผลักดันการเพิ่มโอกาสในการเดินทางเข้าถึงประเทศไทยในทุกช่องทาง เช่น ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมไปถึงการมุ่งสู่การเป็น Data Driven Organization โดยใช้แพลตฟอร์ม Thailand Tourism Virtual Mart เพื่อเป็นพื้นที่การตลาดออนไลน์ในรูปแบบ B2B ระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย (Seller) และบริษัทนำเที่ยวต่างชาติ (Buyer) อีกด้วย

อาจกล่าวได้ว่า ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวไทย ปี 2566 มุ่งเน้นให้กระตุ้นความต้องการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติ โดยสร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่า ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยน ต่อยอด และพัฒนา รวมถึงบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยสามารถสรุปเป็นกลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวไทย 4 ด้าน ดังนี้

Thailand tourism trend 2023

กลุ่มที่มีรายได้สูง Millennials, Gen X กลุ่มที่มีความเป็นส่วนตัวสูง เน้นสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และกลุ่มใหม่แนวดิจิทัล สำหรับด้านการตลาดท่องเที่ยวในประเทศ มุ่งเน้นกระตุ้นความต้องการเดินทางของคนไทย 5 ภาค ภายใต้แคมเปญ 365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทยเที่ยวได้ทุกวัน เน้นความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ของแต่ละภาค เช่น ภาคเหนือ มีแผนการตลาดกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงภายในภูมิภาค มุ่งเน้นกลุ่มครอบครัวที่มีหลายช่วงวัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นท่องเที่ยว 20 จังหวัดภาคอีสาน เน้นกลุ่ม Gen-Y และวัยทำงาน รวมไปถึงแนวทางส่งเสริมการตลาด เมนูเปิดประสบการณ์ใหม่เมืองรองมิรู้ลืม เป็นต้น ในขณะที่การตลาดท่องเที่ยวในต่างประเทศ มุ่งเน้นแคมเปญ Visit Thailand Year 2022-2023  Amazing New Chapters g มุ่งเน้นประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แสนพิเศษให้การเดินทางเที่ยวเมืองไทยมีความหมาย ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการกลับมาพบกันอีกครั้ง และเน้นการท่องเที่ยวรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะยั่งยืน

  • Meaningful Travel เป็นกลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวไทยที่เน้นการสร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว

แคมเปญการเดินทางที่มีความหมายและมุ่งเน้นคุณค่า เช่น โครงการ Big Trees ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครและผู้สนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำงานร่วมกับชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้และช่วยรักษาพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ และทั่วประเทศไทย นักท่องเที่ยวจะสามารถเพลิดเพลินกับวันหยุด มากกว่านั้นได้ตอบแทนชุมชนท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย การท่องเที่ยวที่รักษาพื้นที่สีเขียวสาธารณะและสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักในการปลูกป่า สามารถช่วยลดมลพิษในบรรยากาศ และลดระดับอนุภาคฝุ่นและผลิตออกซิเจน ปลูกต้นกล้า ปลูกป่า สร้างงานให้กับชาวบ้าน ผ่านการฝึกอบรม เป็นต้น

  • Shape Supply เป็นกลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวไทยที่เน้นต่อยอดพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน

การจัดจำหน่ายสินค้าและบริการและการตลาดในโซ่อุปทาน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้ส่งมอบวัตถุดิบและบริการ (Tourism Supplier) บริษัทนำเที่ยว (Tour Operator) บริษัทตัวแทนท่องเที่ยว (Travel Agent) และนักท่องเที่ยว รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการเป็นเครือข่ายขององค์กรด้านการท่องเที่ยวที่มีส่วนร่วมในสร้างสรรค์กิจกรรมและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว สามารถส่งมอบบริการนั้นให้กับนักท่องเที่ยวได้อย่างดีอีกด้วย ทั้งนี้ การสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว สามารถทำผ่านโครงการต่างๆ การฝึกอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสุขภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวางแผนธุรกิจ การตลาด เทรนด์การเดินทางใหม่ๆ และพฤติกรรมนักท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เพื่อพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการเปิดการท่องเที่ยวอีกครั้งอย่างปลอดภัย

กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยว ปี 66

  • High Value and Sustainability เป็นกลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวไทยที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืน

ในฐานะนักเดินทางที่มีความรับผิดชอบ เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มจำนวนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ตลอดจนวิถีชีวิตชุมชนนั้นๆ แนวทางการตลาดนี้ก็คือ ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน พร้อมปกป้องและเพิ่มโอกาสในอนาคต หรือใช้แนวทางการท่องเที่ยวแบบ มูลค่าสูง ปริมาณต่ำ นั่นหมายถึง การท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด และรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีการใช้จ่ายสูงสุดนั่นเอง

สรุปได้ว่า 4 กลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวไทย ปี 2566 ที่สำคัญคือ 1.Drive Demand เป็นกลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวไทยที่เน้นการกระตุ้นความต้องการเดินทาง  2.Meaningful Travel เป็นกลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวไทยที่เน้นการสร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว 3. Shape Supply เป็นกลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวไทยที่เน้นต่อยอดพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน และ 4.High Value and Sustainability เป็นกลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวไทยที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืน ซึ่งการดำเนินการด้านกลยุทธ์การตลาดดังกล่าว ต้องอาศัยการขับเคลื่อนในหลายภาคส่วนในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวและเติบโตอย่างต่อเนื่องในลักษณะที่ยั่งยืนต่อไป

เป็นยังไงล่ะคะ เชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ กันได้บ้างนะคะ เราพร้อมสำเร็จไปด้วยกัน Love and Share….Beauty Town

ที่มา: https://www.gmanetwork.com

https://www.prachachat.net

https://virtualmart.tourismthailand.org