4 กลยุทธ์การตลาดสปาไทย     

 สวัสดีค่า เพื่อนๆ ผู้ประกอบการสปา ที่น่ารักทุกคนค่ะ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ตั้งแต่ ปี 2562-2564 การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจสปาขนาดเล็กและขนาดย่อมได้รับผลกระทบอย่างมาก สูญเสียรายได้  เนื่องจากไม่สามารถให้บริการกับลูกค้าได้ แต่ปัจจุบันหลัง Covid 19 เมื่อมีการเปิดให้บริการของธุรกิจสปา จะเห็นได้ว่าการเติบโตในธุรกิจของสปาขยายตัวมากขึ้นในปัจจุบัน และมีแนวโน้มการขยายตัวที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ดังนั้น ทีม Beauty Town เห็นถึงความสำคัญและจำเป็นในเรื่องการตลาดของธุรกิจนี้มาก วันนี้จึงขอมาแบ่งปัน เรื่องกลยุทธ์การตลาดสปาในปัจจุบัน ให้กับเพื่อนๆ กันนะคะ

การวางแผนการตลาด ถือเป็นหัวใจสำคัญของผู้จัดการสปา ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องวางแผนกลยุทธ์ทั้งระยะสั้น และระยะยาวไว้เสมอ วันนี้ทีม Beauty Town สรุปกลยุทธ์ทางการตลาดและบุคลากร  4 กลยุทธ์ มาให้เพื่อนๆ ตามนี้นะคะ

 

กลยุทธ์ด้านการบริการสปา

1.กลยุทธ์ด้านบริการ (Service Strategy)

การบริการของสปา ประกอบด้วย รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส การจัดการในแต่ละด้านจะมีความแตกต่างกัน การออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการให้บริการสปาก็แตกต่างกัน ผู้บริหารสปา จำเป็นต้องรู้องค์ประกอบแต่ละด้านว่า มีมาตรฐาน มีความปลอดภัย มีความครบถ้วน และก่อให้เกิดความประทับใจต่อผู้มาใช้บริการ ตลอดจนสามารถตอบสนองลูกค้าได้จริง โดยพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้

  • การจัดการด้านรูป หรือบรรยากาศภายของสปา (Sight or Ambient) การดูแลความเรียบร้อยภายในสปา และความสวยงามของสถานที่ทั้งภายในและภายนอก ทำให้เกิดความแตกต่างและบ่งบอกถึงระดับของสปานั้นๆ
  • การจัดการด้านรส จะต้องถูกสุขลักษณะ โดยเน้นถึงความสะอาดของอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ประกอบการให้การรับประทานหรือการดื่ม สมุนไพรไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มหรืออาหาร ต้องเน้นถึงหลักโภชนาการการจัดการด้านกลิ่น เป็นหัวใจสำคัญของสปา เพราะการบำบัดแบบองค์รวมจะต้องสร้างความสมดุลทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ
  • การจัดการด้านกลิ่น  กลิ่นมีผลต่อระบบการหายใจ (Respiratory System) ระบบการย่อยอาหาร (Digestive System) ระบบความจำ (Memory System) โดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์ นอกจากนั้นก็จะช่วยในการป้องกันเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องระวังในการเลือกใช้กลิ่น โดยต้องใช้กลิ่นเฉพาะนํ้ามันหอมระเหยที่สกัดจากธรรมชาติเท่านั้น
  • การจัดการด้านเสียง เสียงเพลงที่ใช้ในสปาจะเป็นเพลงบำบัด ที่มีผลโดยตรงต่อการเต้นของหัวใจและทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ที่ผ่อนคลาย เสียงธรรมชาติหรือดนตรีบรรเลงมักจะถูกนำ มาใช้ในสปาดนตรีบำบัดจะใช้การผสมผสานของทำนอง จังหวะและการประสานเสียงของเครื่องดนตรี
  • การจัดการด้านสัมผัส การสัมผัสอย่างอ่อนโยนจากผู้ให้บริการสปา (spa therapist) เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ผู้ให้บริการสปาต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนจนชำนาญ และจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปพร้อมๆกับความตึงเครียดที่สะสมมานานจนกลายเป็นความเครียดในสมอง ข้อพึงระวังในการนวด ข้อห้ามสำหรับบุคคลบางประเภทที่จะต้องห้ามนวด ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ผสมในนํ้ามันนวดอีกด้วย

2.กลยุทธ์ด้านราคา (Price)

การกำหนดราคาแต่ละโปรแกรมในการให้บริการแก่ลูกค้าต้องคำนึงถึงต้นทุนการดำเนินการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจทำ ได้หลายวิธีเช่น การตั้งราคาจากต้นทุนบวกด้วยกำ ไรที่ต้องการ หรือ ตั้งราคา เมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน บางครั้งอาจใช้เกณฑ์การความพึงพอใจของลูกค้าที่เป็นกลุ่มบริโภคที่แท้จริง สปามีลักษณะเหมือนกันอาจมีการตั้งราคาแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ของกิจการในการกำหนดกลยุทธ์อาจใช้วิธีลดราคาบริการเพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายก็เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในการกำหนดราคาควรสะท้อนถึงผลที่คาดว่าผู้ใช้บริการจะได้รับจากการเข้ามาใช้บริการในสปา

3.กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)

ช่องทางการจัดจำ หน่ายหมายถึงสานที่ที่เป็นจุดที่มีการให้บริการสปาหรือที่มีการกระจายสินค้าหรือบริการสปาแต่ละแห่งจะช่องทางการจัดจำหน่ายที่แตกต่างกัน ผู้บริหารสปาจะต้องศึกษาพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบให้ดี การออกเยี่ยมเยียนลูกค้าเป้าหมายก็สามารถได้ผล ปัจจุบันการขายบริการสปา อาจเป็นการบริการจำ หน่ายเป็นชุด (package) ไปพร้อมการท่องเที่ยว หรือแม้แต่ตั้งเคาน์เตอร์ตามห้างสรรพสินค้าก็จะช่วยในการจัดหาช่องทางการจัดจำ หน่ายได้

SPA

4.กลยุทธ์ด้านประชาสัมพันธ์ (Promotion)

การประชาสัมพันธ์ค่อนข้างได้ผลดีสำหรับการสร้างความรู้จักของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การประชาสัมพันธ์จะใช้งบประมาณน้อยกว่าการโฆษณา แต่ก็มีข้อเสียในส่วนที่จะทำให้คนทั่วไปรู้จักสปาของเรานั้นต้องใข้เวลาที่นานกว่า การจัดทำ การส่งเสริมการขายเป็นระยะๆ เป็นวิธีการที่ใช้กันบ่อยโดยจะได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆเข้ามทดลองการใช้บริการของสปา การใช้พนักงานขายให้ติดต่อลูกค้าเป้าหมายโดยตรงจะเป็นที่นิยมที่สุดในกิจการสปา (Personal Selling) สิ่งสำคัญที่สุดในการทำการประชาสัมพันธ์ก็คือการสร้างการยอมรับในบริการที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่สำคัญในปัจจุบัน มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในตลาดออนไลน์ เช่น การทำเพจ Reels และ TikTok for Business

SPA

 

5.กลยุทธ์ด้านบุคลากร (Personnel)

การฝึกอบรมพนักงานให้มีทักษะการนวดที่ดีมีความสำคัญในการรักษามาตรฐาน และต้องใช้เฉพาะพนักงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขแล้วเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ การอบรมพนักงานให้มีทักษะในการให้บริการเป็นสิ่งที่ต้องจัดอบรมสัมมนาพนักงานอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการให้บริการ การสปา การนวดในรูปแบบต่างๆ   ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสปา

SPA

เป็นยังไงล่ะคะ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ พี่น้องกันผู้ประกอบการสปาได้บ้างนะคะ

Love and Share……Beauty Town